วิธีการจัดการของการแยกประเภทของขยะ






ในช่วงที่ผ่านมาหลายท่านคงได้ทราบข่าวเกี่ยวกับเพลิงไหม้บ่อเก็บขยะอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งเพลิงไหม้ที่เกิดนั้นก่อให้เกิดเป็นมลพิษทางอากาศส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจของผู้พักอาศัยบริเวณนั้นเป็นอย่างมาก ในท่ามกลางกลุ่มควันไฟนั้นทางผู้เขียนสังเกตเห็นกองขยะมหึมา จึงเกิดคำถามขึ้นในใจว่า เหตุใดขยะจึงมีมากมายมหาศาลขนาดนี้ และทำอย่างไรเราจึงจะสามารถลดปริมาณขยะเหล่านั้นได้ ทำให้นึกถึงโครงการก่อสร้างอาคารเขียว ที่มีกระบวนการลดปริมาณขยะตั้งแต่เริ่มก่อสร้างอาคารจนกระทั่งมีการใช้อาคาร ทั้งนี้ทางผู้เขียนขอยกตัวอย่าง “หัวข้อ EP P2การบริหารจัดการขยะ” ซึ่งมาตรฐาน TREES กำหนดให้เป็นข้อบังคับให้ดำเนินการ โดยกำหนดให้ดำเนินการ 2 หัวข้อหลักคือ

1. ออกแบบอาคารหรือโครงการให้มีพื้นที่หรือห้องคัดแยกขยะและเก็บเศษวัสดุเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ โดยพื้นที่ดังกล่าวต้องมีความมิดชิดและเข้าถึงง่าย

2. มีจุดทิ้งขยะที่ระบุไว้อย่างชัดเจนในแต่ละชั้นของอาคาร หรือส่วนของอาคาร โดยจุดทิ้งขยะดังกล่าวต้องมีถังคัดแยกขยะ ได้แก่ ขยะเปียก ขยะอันตราย และขยะแห้งที่มีการคัดแยกเป็นประเภท เช่น กระดาษ โลหะ แก้ว และพลาสติก เป็นอย่างน้อย

เพื่ออำนวยความสะดวกต่อผู้ใช้อาคารจะต้องมีการจัดเตรียมจุดทิ้งขยะแต่ละชั้นหรือตามความเหมาะสม และจุดทิ้งนั้นควรจะมีการแยกประเภท เพื่อให้ผู้ใช้อาคารเป็นผู้คัดแยกขยะเบื้องต้นก่อนทิ้ง สุดท้ายเพื่อให้ง่ายต่อผู้ที่รับผิดชอบนำขยะเหล่านั้นไปคัดแยกและจัดเก็บในห้องเก็บต่อไปอีกด้วย

การจัดเตรียมห้องเก็บขยะรีไซเคิล และจุดทิ้งขยะเพื่ออำนวยความสะดวก ต่อผู้ใช้อาคารนั้นเป็นเพียงแค‹ส่วนหนึ่งของการลดปริมาณขยะที่จะถูกส่งไปที่บ่อขยะเพื่อการฝังกลบ แต่หากเราต้องการ “ลดปริมาณขยะอย่างยั่งยืน” นั้นเราต้องเริ่มจากการสร้างจิตสำนึกในการทิ้งขยะ โดยที่ผู้ทิ้งนั้นจะต้องมีการแยกขยะก่อนทิ้งทุกครั้ง จึงถือได้ว่าเป็นการลดปริมาณขยะอย่างแท้จริงและเป็นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน - See more at: http://www.buildernews.in.th/page.php?a=10&n=268&cno=8196#sthash.WY5GUPHs.dpuf